เจ้าหญิงฟองแก้ว ผู้ไม่เคยลืม อัตลักษณ์ล้านนา

เจ้าหญิงฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ เติบโตในวังของ เจ้าดารารัศมีแต่งกายงามแบบชาวล้านนา คือ “นุ่งซิ่น ผมยาว เกล้ามวย ” แต่งงานกับ ม.ร.ว.ปุ้ม...


เจ้าหญิงฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ เติบโตในวังของ เจ้าดารารัศมีแต่งกายงามแบบชาวล้านนา คือ“นุ่งซิ่น ผมยาว เกล้ามวย ” แต่งงานกับ ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล ณ อยุธยา มีบุตรชายหนึ่งคน คือ มล. เทียม มาลากุล ณ อยุธยา สำนักในวังยื่นคำขาดให้เจ้าหญิงฟองจันทร์ แต่งกายและตัดผมแบบสยามคือ “ทรงดอกกระทุ่มจอนยาว”

ทรงดอกกระทุ่มจอนยาว
สามีก็เห็นด้วยเจ้าฟองแก้วไม่ยอมทำตามและเจ้าดาราก็ไม่พอใจในการถูกบังคับครั้งนี้เจ้าฟองแก้วตัดสินใจหย่าขาดจากสามีและกลับมารับใช้เจ้าดาราดังเดิมนับว่าเป็นผู้หญิงล้านนาที่ยึดมั่นในประเพณีของตนอย่างมั่นคง ไม่คิดที่จะละทิ้งอัตลักษณ์ล้านนาตามค่านิยมแห่งยุคสมัย
—–
บทความโดย Prawit Ratchagit
ที่มา https://www.facebook.com/prawit.ratchagit/posts/903373906368347

เรื่องราวความยึดมั่นในอัตลักษณ์ จนแยกทางกับสามี
บรรดา เจ้านายบุตรหลานในราชวงศ์ฝ่ายเหนือ ที่ได้เป็นข้าหลวงนางในของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี
เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ 
เจ้าหญิงบัวชุม ณ เชียงใหม่ 
เจ้าหญิงยวงแก้ว สิโรรส 
เจ้าหญิงคำเที่ยง ณ เชียงใหม่ 
แม่นายบุญปั๋น พิทักษ์เทวี 
เจ้าหญิงฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ 
เจ้าหญิงบัวระวรรณ ( บึ้ง ) ณ เชียงใหม่ 
เจ้าหญิงเครือคำ ณ เชียงใหม่
และนัดดาน้อย ๆ อีก 2 ท่าน คือ

เจ้าหญิงลัดดาคำ ณ เชียงใหม่ กับ เจ้าหญิงเรณุวรรณา ณ เชียงใหม่

เจ้าหญิงฟองแก้ว นั้นเป็นหนึ่งใน เจ้านายฝ่ายเหนือที่ตามเสด็จ เจ้าดารารัศมี มากรุงเทพ
เจ้าหญิงฟองแก้ว ณ เชียงใหม่ เจ้านายอีกหนึ่งพระองค์ที่ตามเสด็จ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี เรื่องราวความยึดมั่นในอัตลักษณ์ล้านนา จนถึงขั้นแยกทางกับสามีของท่านจะเป็นอย่างไรนั้น เราไปติดตามกันเลยดีกว่า
เจ้าหญิงฟองแก้ว เป็นธิดาในเจ้าน้อยบัวละวงษ์ ณ เชียงใหม่ พระบิดาถวายให้ตามเสด็จพระราชชายา เจ้าดารารัศมีตั้งแต่ยังเล็ก จึงใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในตำหนักของพระราชชายา ในพระราชวังจนเติบโตเป็นสาวรุ่นงดงาม
เมื่อเข้าสู่วัยสาว ด้วยความงามอันเลื่องลือของเหล่าข้าหลวงนางใน ตำหนักพระราชชายา ที่แต่งกายงามแบบชาวล้านนา คือ นุ่งซิ่น ผมยาว เกล้ามวย ทั้งยังเล่นดนตรี และ ร่ายรำได้งดงามอ่อนช้อย จึงไม่พ้นที่จะมีบุรุษมาสนใจและมอบความรักให้ ซึ่งก็คงหนีไม่พ้นเหล่ามหาดเล็กน้อยใหญ่ ไปจนถึงเสนาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ เจ้าหญิงฟองแก้วเองก็ เช่น กัน
โดยเริ่มจาก เจ้าจอมมารดาชุ่ม ได้มาสู่ขอเจ้าหญิงให้แก่พี่ชายของท่าน แต่ พระราชชายาทรงปฏิเสธ ด้วยทรงมองว่าไม่เหมาะสม (คิดว่าพี่ชายของเจ้าจอมคงจะสูงอายุพอสมควร) ต่อมา กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ทรงสู่ของเจ้าหญิงฟองแก้วให้แก่โอรสของพระองค์ คือ ม.ร.ว.ปุ้ม มาลากุล ณ อยุธยา (ขณะนั้นรับราชการ กินตำแหน่งจมื่นภักดีจงขวา มหาดเล็กนั้นเอง ) และ พระราชชายาทรงอนุญาต ทั้งสองจึงได้สมรสกัน มีบุตรชายหนึ่งคน คือ มล. เทียม มาลากุล ณ อยุธยา
ทัศนคติของชาวกรุงสมัยนั้น มองว่าเชื้อสายทางฝ่ายเหนือทั้งหมดนั้นเป็น ลาว และค่อนข้างจะมองไปในแง่ลบ คือเหยียดหยามว่าต่างชั้น และต้อยต่ำกว่าชาวสยาม เพราะเป็นเพียงประเทศราชเท่านั้น ผู้ใหญ่ทางฝ่ายสามีจึงไม่ใคร่จะพอใจในการสมรสกันของทั้งสองนัก ด้วยอับอายที่จะต้องตอบคำถามแก่ผู้คนในสังคม ถึงสาเหตุที่มีสะใภ้เป็น ลาว จึงบังคับให้เจ้าหญิงฟองแก้วตัดผมแบบชาวสยามทั่วไป คือ ทรงดอกกระทุ่มจอนยาวและแต่งกายแบบชาวสยามทั่วไป เพื่อขจัดคำครหา แทนที่ ม.ร.ว.ปุ้มผู้เป็นสามีจะปกป้องภรรยาของตน กลับยื่นคำขาดแก่เจ้าหญิงฟองแก้วให้ตัดผมทิ้งเสียและเปลี่ยนเครื่องแต่งกายให้เหมือนคนอื่นทั่วไป ไม่เช่นนั้นจะแยกทางกับเจ้าหญิง เพื่อล้างความอับอายที่มี
เจ้าหญิงฟองแก้วนั้น แม้จะรักบุตรมาก แต่ไม่ทรงคิดจะละทิ้งความเป็นล้านนาของตน จึงนำความกราบทูล พระราชชายา ซึ่งพระองค์ทรงกริ้วมาก และให้เจ้าหญิงแยกทางกับสามี มาอยู่ที่ตำหนักกับพระองค์เช่นเดิม โดยรับหน้าที่เป็นต้นห้องแทนคุณหญิงบุญปั๋น เทพสมบัติที่ออกเรือนไป เจ้าหญิงฟองแก้วจึงกลับมารับใช้พระราชชายาอีกครั้ง และพยายามจะนำบุตรชายมาเลี้ยงเอง แต่ ทางม.ร.ว.ปุ้มไม่ยินยอม ท่านจึงใช้ชีวิตอยู่ในตำหนักและตามเสด็จ พระราชชายา ต่อมาได้สมรสกับ เจ้าวุฒิ ณ ลำพูน แต่ก็ได้แยกกันอยู่อีกครั้ง และท่านก็ใช้ชีวิตเพียงลำพังจนกระทั่งท่านเสียชีวิตลง ด้วยวัย 40 เศษๆเท่านั้น
การกระทำของเจ้าหญิงฟองแก้วนั้น แสดงให้เห็นถึงความยึดมั่นในประเพณีของตน ไม่คิดจะละทิ้งตามค่านิยมแห่งยุคสมัยที่กร้ำกรายเข้ามา หากคนไทยคิดได้เหทือนเจ้าหญิงแห่งล้านนาท่านนี้ ขนบธรรมเนียมประเพณีความเป็นไทยของเรา คงไม่ถูกค่านิยมแห่งยุคสมัยกลืนกินแบบทุกวันนี้แน่นอนค่ะ
ตำหนักพระราชชายาเจ้าดารารัศมี ในพระบรมมหาราชวัง
เป็นตำหนักที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้พระราชทานเป็นที่ประทับของพระราชชายาเจ้าดารารัศมีเป็นตำหนักขนาดใหญ่ ๓ ชั้น ก่อสร้างเต็มพื้นที่ มีถนนโดยรอบทั้งสี่ด้าน ผนังด้านนนอกทำหน้าที่เป็นขอบเขตของพระตำหนักทาสีชมพูสลับกับสีเขียว หลังคาทรงปั้นหยา ระหว่างที่ทรงประทับอยู่ ณ พระตำหนักแห่งนี้ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้พระประยูรญาติและเจ้านายฝ่ายเหนือเสด็จมาประทับอยู่ด้วย ทั้งนี้ทรงโปรดเกล้าฯให้ทุกพระองค์แต่งกายด้วยผ้าซิ่นแบบล้านนาไว้ผมมวยรวมทั้งยังโปรดฯให้ศึกษาศิลปะดนตรีไทย ดนตรีสากล การขับร้อง และการฟ้อนรำอนึ่ง หลังจากพระราชชายา เจ้าดารารัศมี เสด็จกลับไปประทับ ณ นครเชียงใหม่

ตำหนักสวนฝรั่งกังไส ภายในพระราชวังดุสิต
ตำหนักสวนฝรั่งกังไส เป็นที่ประทับของพระราชชายา เจ้าดารารัศมีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2451 ตำหนักสร้างเป็นอาคารโบกอิฐถือปูน หลังคาทรงปั้นหยา ปัจจุบัน ใช้เป็น พิพิธภัณฑ์จัดแสดงเครื่องราชูปโภคและภาพสีน้ำมันที่รัชกาลที่ 5 ทรงสั่งซื้อมาจากยุโรป
ภาพเหมือนพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นสูง เรียกว่า “อาคารราชูปโภค 1”

ตำหนักพระราชชายา เจ้าดารารัศมี (พระราชวังบางปะอิน)
ตำหนักที่ประทับของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทรงเป็นพระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เป็นพระตำหนักไม้ยกพื้นชั้นเดียว ตัวอาคารทาสีเขียว ด้านในตำหนักทาสีขาว มีห้องบรรทม 2 ห้องมีห้องสรงอยู่ภายใน ห้องสำราญพระอิริยาบถ 1 ห้อง ห้องพระเครื่องต้น 1 ห้อง โดยทุกห้องสามารถเปิดถึงกันหมด มีทางขึ้นตำหนักด้านหน้า 1 ทางและด้านหลัง 1 ทาง
ตำหนักพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ตั้งอยู่ใกล้เคียงกับตำหนักเก้าห้อง


ที่มา : http://board.postjung.com/782047.html

loading...

You Might Also Like

0 ความคิดเห็น